วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แพทย์แผนไทย

การแพทย์แผนไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การแพทย์แผนไทย หรือมักเป็นที่รู้จักกันว่า การแพทย์แผนโบราณ เป็นความพยายามจะอธิบายภาวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพ ทั้งสภาวะปกติ และสภาวะที่ผิดปกติ (เป็นโรค) โดยใช้ทฤษฎีความสมดุลของธาตุต่าง ๆ ในร่างกายเข้ามาอธิบาย ผสมผสานองค์ความรู้จากวัฒนธรรมอินเดีย พุทธศาสนา และองค์ความรู้ที่ถูกพัฒนาขึ้นเองโดยครูการแพทย์แผนไทย คือ ชีวกโกมารภัจจ์[ต้องการอ้างอิง]
การแพทย์แผนไทย อาจหมายถึง กระบวนการทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับการตรวจ วินิจฉัย บำบัด หรือป้องกันโรค หรือการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพของมนุษย์หรือสัตว์ การผดุงครรภ์ การนวดไทย และหมายความรวมถึงการเตรียมการผลิตยาแผนไทย ประดิษฐ์อุปกรณ์ และเครื่องมือทางการแพทย์ โดยอาศัยความรู้หรือตำราที่ได้ถ่ายทอดและสืบต่อกันมา[1]
การแพทย์แผนไทยอาจจะไม่มีองค์ความรู้ด้านกลไกการเกิดโรค และเทคนิคทางศัลยกรรมมากนัก แต่ต้องมีองค์ความรู้ด้านกลวิธีทางคลินิก เช่น การซักประวัติ และการรักษาด้วยยา เพียงแต่ขาดหลักฐานเชิงประจักษ์ทางคลินิก (Evidence-based clinical knowledge) ซึ่งก็มาจากกฎข้อบังคับตามใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทย ที่ว่า "มิให้แพทย์แผนไทยกระทำการอันเป็นวิทยาศาสตร์ใด ๆ" นั่นเอง ทำให้ไม่สามารถมีการตั้งสมมุติฐานและวิจัยได้อย่างเต็มที่

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ธาตุเจ้าเรือน

ตามทฤษฎีการแพทย์ไทย กล่าวว่า คนเราเกิดมาในร่างกายประกอบด้วยธาตุทั้งสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งในแต่ละคนจะมีธาตุหลักเป็น ธาตุประจำตัว เรียกว่า“ธาตุเจ้าเรือน ” ซึ่งธาตุเจ้าเรือนนี้มี 2 ลักษณะ คือ ธาตุเจ้าเรือนเกิด ซึ่งจะเป็นไปตาม วันเดือนปีเกิด และธาตุเจ้า เรือนปัจจุบัน ที่พิจารณาจาก บุคลิกลักษณะ อุปนิสัยและภาวะด้านสุขภาพ กายและใจ ว่าสอดคล้องกับลักษณะของบุคคลธาตุเจ้าเรือน อะไร เมื่อธาตุทั้งสี่ในร่างกายสมดุล บุคคลจะไม่ค่อยเจ็บป่วย หากขาดความสมดุลมักจะเกิดความเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจาก จุดอ่อน ด้านสุขภาพของแต่ละคนตามเรือนธาตุ ที่ขาดความสมดุล ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาความเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นการปรับพฤติกรรมการบริโภค อาหารของแต่ละคนในชีวิตประจำวัน โดยใช้รสของอาหารคุณลักษณะที่เป็นยามาปรับ สมดุลของร่างกายเพื่อป้องกันความเจ็บป่วย จะได้รู้อย่างไรว่าเป็นคนธาตุอะไร มีจุดอ่อนด้านสุขภาพด้วยโรคอะไร และควรจะรับประทานอาหารอย่างไร ให้ตรงกับธาตุ ุเจ้าเรือนของตนสามารถอ่านได้จากอาหาร สมุนไพรประจำธาตุดังต่อไปนี้

[แก้] คัมภีร์แพทย์แผนไทย

  • คัมภีร์ที่เกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรคโดยทั่วไป
  1. คัมภีร์เวชศึกษา กล่าวถึงสาเหตุการเกิดโรค และ วิธีการตรวจโรคต่างๆ
  2. คัมภีร์สมุฎฐานวินิจฉัย ซึ่งกล่าวถึงถึงสาเหตุการเกิดโรค โดยอาศัยทฤษฎีธาตุในการวินิจฉัยและพยากรณ์โรค
  3. คัมภีร์โรคนิทาน กล่าวถึงสาเหตุของโรค และ ความผิดปกติของธาตุต่างๆ และรสยาต่างๆ
  4. คัมภีร์ธาตุวิภังค์ เช่นเดียวกับคัมภีร์โรคนิทาน แต่มีรายละเอียดแตกต่างกัน และรสยาต่างๆ
  5. คัมภีร์ธาตุวิวรณ์ กล่าวถึงสาเหตุการเกิดโรค โดยอาศัยปัจจัยแวดล้อม และปัจจัยภายใน รวมถึงรสยาต่างๆ
  • คัมภีร์ที่กล่าวถึงไข้
  1. คัมภีร์ฉันศาสตร์ กล่าวถึงไข้ โดยใช้ทฤษฎีธาตุ
  2. คัมภีร์ตักศิลา กล่าวถึงไข้ต่างๆ
  • คัมภีร์ที่เกี่ยวกับโรคในช่องปากและทางเดินอาหาร
  1. คัมภีร์มุขโรค กล่าวถึงโรคในช่องปาก
  2. คัมภีร์ธาตุบรรจบ กล่าวถึงโรคในระบบทางเดินอาหาร โดยพิจารณาจากอุจจาระ และใช้ทฤษฎีธาตุ
  3. คัมภีร์อุทรโรค กล่าวถึงโรคในช่องท้องและท้องเดินอาหาร
  4. คมภีร์อติสาร เช่นเดียวกับคัมภีร์อุทรโรค แต่รายละเอียดแตกต่างกัน
  • คัมภีร์ที่เกี่ยวกับโรคสตรี และการตั้งครรภ์
  1. คัมภีร์ปฐมจินดา กล่าวถึง การปฏิสนธิและการตั้งครรภ์ ลักษณะสตรีต่างๆ โรคในเด็กแรกเกิด
  2. คัมภีร์มหาโชติรัตน์ กล่าวถึงโรคสตรี
  • คัมภีร์ที่กล่าวถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และทางเดินปัสสาวะ
  1. คัมภีร์มุจฉาปักขันทิกา
  • คัมภีร์ที่เกี่ยวกับโรคลม
  1. คัมภีร์ชวดาร กล่าวเกี่ยวกับโรคทางเดินปัสสาวะ หัวใจ และไต ซึ่งอธิบายโดยทฤษฎีลม
  2. คัมภีร์มัญชุสาระวิเชียร อธิบายที่ตั้งและการเรียกชื่อโรคของ โรคลม
  • คัมภีร์ที่เกี่ยวกับความเจ็บป่วยเรื้อรัง
  1. คัมภีร์กษัย
  • คัมภีร์ที่เกี่ยวกับโรคที่เกิดขึ้นที่เยื่อบุผิว
  1. คัมภีร์ทิพยมาลา เกี่ยวกับฝีภายในร่างกาย
  2. คัมภีร์ไพจิตร์มหาวงศ์ กล่าวเกี่ยวกับฝี
  • คัมภีร์ที่เกี่ยวกับโรคตา
  1. คัมภีร์อภัยสันตา

[แก้] แพทย์แผนไทยประยุกต์

แพทย์แผนไทยประยุกต์ คือ บุคลากรทางการแพทย์สาขาหนึ่ง เกิดขึ้นจากแนวคิดของนายแพทย์ อวย เกตุสิงห์ ซึ่งต้องการพัฒนาและยกฐานะของการแพทย์แผนไทยโบราณให้มีความเป็นวิทยาศาสตร์และมีหลักวิชาการรองรับในการอธิบาย อาจกล่าวได้ว่า แพทย์แผนไทยประยุกต์เป็นบุคลากรการแพทย์สายพันธุ์ใหม่ของสังคมไทย[ต้องการอ้างอิง] ที่ครึ่งหนึ่งขององค์ความรู้จะต้องร่ำเรียนตามหลักวิชาการทางการแพทย์แผนตะวันตก ผสมผสานกับคัมภีร์แพทย์แผนโบราณของไทย สามารถใช้เครื่องมือทางการแพทย์แผนปัจจุบันได้บางอย่าง (ตามที่ข้อกฎหมายกำหนด 13 รายการ) สามารถวินิจฉัยตามหลักการแพทย์แผนปัจจุบัน เพียงแต่เมื่อถึงขั้นตอนในการรักษานั้น ต้องรักษาด้วยวิธีการการแพทย์แผนไทยอาทิการใช้ยาสมุนไพร นวด อบ ประคบ นอกจากนั้น ยังสามารถทำคลอดและให้การบำรุงแม่และทารก ตามแนวทางการแพทย์แผนไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ
แพทย์แผนไทยประยุกต์จะต้องสอบใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ โดยเฉพาะเสียก่อน จึงสามารถปฏิบัติงานในโรงพยาบาล หรือให้การรักษาแก่ผู้ป่วยได้ การสอบใบประกอบโรคศิลปะนั้น จะต้องสอบใบประกอบโรคศิลปะสาขาแพทย์แผนไทยประยุกต์เท่านั้น จึงจะเป็นแพทย์แผนไทยประยุกต์ที่สมบูรณ์และถูกต้อง นอกจากนี้ยังมีสิทธิ์ที่จะสอบใบประกอบโรคศิลปะแพทย์แผนไทยสาขาเวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย และผดุงครรภ์[ต้องการอ้างอิง]

[แก้] การจัดการเรียนการสอนสาขาการแพทย์แผนไทยและสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์

ในปัจจุบัน มีมหาวิทยาลัยต่าง ๆ หันมาให้ความสำคัญกับการผลิตบัณฑิตในสาขาการแพทย์แผนไทยมากขึ้น ซึ่งการแพทย์แผนไทยกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์ นั้นมีความแตกต่างกันชัดเจน คือ การแพทย์แผนไทย เน้นการวินิจฉัย การรักษา และการจ่ายยา ด้วยหลักการของการแพทย์แผนไทย และจ่ายยาด้วยสมุนไพร[1] เพียงแต่มีข้อจำกัดในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์แบบตะวันตก ซึ่งต้องสอบใบประกอบโรคศิลปะเช่นเดียวกัน แต่ขึ้นทะเบียนกันคนละประเภทกัน โดยมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนการแพทย์แผนไทย มีดังนี้

สาขาการแพทย์แผนไทย

สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ดร.สมหมาย แตงสกุล, ดร.ธาดา วิมลวัตรเวที. สุขศึกษาและพลศึกษา มัธยม 5. บริษัท วัฒนาพานิช จำกัด : พิมพ์ที่ สำนักพิมพ์ วัฒนาพานิช, ปี 2548. ISBN 974-249-632-3. หน้า 65
  2. ^ http://http//www.ihs.ru.ac.th/index.php(หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาการแพทย์แผนไทย)
  3. ^ http://www.ttmed.psu.ac.th/ (หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาการแพทย์แผนไทย)
  4. ^ http://apichaithaimed.212cafe.com/archive/2009-04-15/211104
  5. ^ http://www.med.tu.ac.th/office3.php
  6. ^ http://www.health.nu.ac.th/
  7. ^ http://www.med.msu.ac.th/

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น